หลักสูตรกายอุปกรณศาสตรบัณฑิต
ปรัชญาของหลักสูตร
ความสำเร็จที่แท้จริงอยู่ที่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตนักกายอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติ ดังนี้
๑) มีความรู้ความสามารถในด้านการประดิษฐ์ ดัดแปลงกายอุปกรณ์ และพัฒนารูปแบบใหม่ๆ ที่มีความเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ ลักษณะอาชีพของประชากรและเศรษฐานะของประเทศ
๒) มีความรู้ ความสามารถในการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ใฝ่หาความรู้และสามารถติดตามความก้าวหน้าของวิชาชีพ
๓) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสาธารณสุขของชาติในสาขาวิชากายอุปกรณ์ และสามารถเสนอแนวทางการป้องกัน และแก้ไขที่เหมาะสมกับสภาวะของประเทศ
๔) เป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมอันดีงาม รักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพอย่างเคร่งครัด รวมทั้งเคารพและปกป้องสิทธิของผู้รับบริการ
๕) มีมนุษยสัมพันธ์กับผู้ป่วย ผู้ร่วมงานตลอดจนบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
จำนวนหน่วยกิตรวม
๑๕๐ หน่วยกิต (ระยะเวลาศึกษา ๔ ปี)
โครงสร้างหลักสูตร
(ก) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ๓๐ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ๑๑ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาภาษา ๙ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ๑๐ หน่วยกิต
(ส่วนที่จัดเป็นวิชาศึกษาทั่วไป)
(ข) หมวดวิชาชีพ/วิชาเฉพาะ ๑๑๔ หน่วยกิต
o กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ๕ หน่วยกิต
(ส่วนที่จัดเป็นพื้นฐานวิชาชีพ/วิชาเฉพาะ)
o กลุ่มวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์การแพทย์ ๑๙ หน่วยกิต
o กลุ่มวิชาพื้นฐานด้านกายอุปกรณ์ ๖ หน่วยกิต
o กลุ่มวิชากายอุปกรณ์ ๘๔ หน่วยกิต
(ค) หมวดวิชาเลือกเสรี ๖ หน่วยกิต
การรับสมัคร
๑. การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา
๑.๑ มหิดลรับตรง
ก. โครงการวิทยาเขต
(๑) กลุ่มกาญจนบุรี จำนวน ๑ คน
(๒) กลุ่มนครสวรรค์ จำนวน ๑ คน
(๓) กลุ่มอำนาจเจริญ จำนวน ๑ คน
ข. โครงการพิเศษ
(๑) โครงการโรงเรียนอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย จำนวน ๑ คน
(๒) โครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน ๑ คน
(๓) โครงการนักศึกษาพิการ จำนวน ๑ คน
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
๑) คุณสมบัติทั่วไป เหมือนเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย
๒) คุณสมบัติทางการศึกษา เหมือนเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย และมีเพิ่มเติม ดังนี้
๒.๑ มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่ต่ำกว่า ๒.๗๕
๒.๒ มีคะแนนเฉลี่ยสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ แต่ละสาระการเรียนรู้ไม่ต่ำกว่า ๒.๗๕ ภาษาอังกฤษ ไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ สังคมและภาษาไทย ไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐
๓) คุณสมบัติเฉพาะ เหมือนเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย และมีเพิ่มเติม ดังนี้
๓.๑ ไม่เป็นผู้ที่มีตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง ไม่มีโรคแขนขาอ่อนแรง ไม่มีปัญหาสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และการประกอบวิชาชีพ
การสอบ
การสอบข้อเขียน ใช้ข้อสอบรับตรงร่วมของ สทศ. (สอบ ๗ วิชา เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ชีววิทยา ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา) การประกาศผู้ผ่านข้อเขียน โดยมีเงื่อนไขคือ คะแนนรวมทุกวิชา มากกว่าเท่ากับ ๓๕ % และคะแนนวิชาภาษาอังกฤษ มากกว่าเท่ากับ ๓๕ % และการสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย
๑.๒ ระบบกลาง (Admissions) ที่ดำเนินการโดย สอท. จำนวน ๓๕ คน
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
๑) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทย์ (ม.๖)
๒) มีองค์ประกอบและค่าร้อยละ กลุ่มสาชาวิชาในการรับบุคลากรเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบกลาง Admission
กลุ่ม วิทยาศาสตร์สุขภาพ | องค์ประกอบ ค่าร้อยละ |
GPAX | ๒๐ |
O-NET | ๓๐ |
GAT | ๒๐ |
PAT ๒ | ๓๐ |
๓) สอบสัมภาษณ์ ตรวจร่างกาย
ค่าเรียน/ทุนการศึกษา
ค่าเรียน
ชั้นปีที่ ๑ ภาคเรียน ๑ ๑๑,๘๕๐ บาท
ภาคเรียน ๒ ๑๑,๒๐๐ บาท
ชั้นปีที่ ๒ ภาคเรียน ๑ ๙,๘๐๐ บาท
ภาคเรียน ๒ ๑๒,๐๐๐ บาท
ชั้นปีที่ ๓ ภาคเรียน ๑ ๑๒,๐๐๐ บาท
ภาคเรียน ๒ ๑๑,๘๐๐ บาท
ชั้นปีที่ ๔ ภาคเรียน ๑ ๑๐,๘๐๐ บาท
ภาคเรียน ๒ ๙,๒๐๐ บาท
ทุนการศึกษา
ทุนการศึกษา แบ่งเป็น ๔ ประเภท คือ
๑) ทุนเรียนดีแต่ขาดทุนทรัพย์ (ทั้งภายในและภายนอก)
o คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
o มหาวิทยาลัยมหิดล
o ธนาคารธนชาต
๒) ทุนของรัฐบาล
o กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
๓) ทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
๔) ทุนโครงการโรงเรียนอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
คำถามพบบ่อย
คำถามที่ ๑ กายอุปกรณ์ คืออะไร
กายอุปกรณ์ คือ อุปกรณ์ที่ใช้กับร่างกายเพื่อช่วยเหลือการเคลื่อนไหว เพิ่มประสิทธิภาพหรือ ขีดความสามารถ ป้องกันแก้ไขลักษณะความผิดปกติ เพิ่มความสะดวกสบาย ตลอดจนทดแทนส่วนของร่างกาย เช่น ขาเทียม แขนเทียม อุปกรณ์ประคองแขน ขา อุปกรณ์ดามหลัง
คำถามที่ ๒ นักกายอุปกรณ์ คือใคร
นักกายอุปกรณ์ คือ ผู้ให้บริการตรวจและประเมิน วินิจฉัย ออกแบบ ประดิษฐ์ คิดค้นและรักษาผู้ป่วยด้วยการใช้กายอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์เสริมทุกระดับ และทุกประเภทสำหรับผู้ป่วยหรือผู้พิการทางการเคลื่อนไหว โดยใช้ความรู้ ทักษะฝีมือและความเชี่ยวชาญเฉพาะบุคคลในระดับสูง ให้คำแนะนำ ฝึกวิธีการใช้การดูแลรักษาการประเมินและติดตามผล ร่วมกับงานด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู และทีมสหสาขาวิชาชีพ
คำถามที่ ๓ ใช้คะแนนอะไรบ้าง ในการสมัครยื่นเข้าคณะ
การสมัครแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
๓.๑ มหิดลรับตรง
๑) มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่ต่ำกว่า ๒.๗๕
๒) มีคะแนนเฉลี่ยสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ แต่ละสาระการเรียนรู้ไม่ต่ำกว่า ๒.๗๕ ภาษาอังกฤษ ไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ สังคมและภาษาไทย ไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐
๓) การสอบข้อเขียน ใช้ข้อสอบรับตรงร่วมของ สทศ. (สอบ ๗ วิชา เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ชีววิทยา ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา) โดยมีเงื่อนไขคือ คะแนนรวมทุกวิชา มากกว่าเท่ากับ ๓๕ % และคะแนนวิชาภาษาอังกฤษ มากกว่าเท่ากับ ๓๕ %
๓.๒ Admissions รับสมัครผ่าน สอท. โดยมีคุณสมบัติดังนี้
๑) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทย์ (ม.๖)
๒) มีองค์ประกอบและค่าร้อยละ กลุ่มสาชาวิชาในการรับบุคคลกรเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบกลาง Admission
กลุ่ม วิทยาศาสตร์สุขภาพ | องค์ประกอบ ค่าร้อยละ |
GPAX | ๒๐ |
O-NET | ๓๐ |
GAT | ๒๐ |
PAT ๒ | ๓๐ |
คำถามที่ ๔ ใช้เวลาเรียนกี่ปี
ใช้เวลาในการศึกษาตามหลักสูตร ๔ ปี อย่างมากไม่เกิน ๘ ปี จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร ๑๕๐ หน่วยกิต โดยรายวิชากายอุปกรณ์มีการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ
คำถามที่ ๕ ผู้ที่จะปฏิบัติงานด้านกายอุปกรณ์ควรมีลักษณะ อย่างไร
๑) มีใจรักในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
๒) มีความชื่นชอบในงานประดิษฐ์
๓) มีความคิดสร้างสรรค์
๔) ใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา
คำถามที่ ๖ ต้องเก่งวิชาไหนเป็นพิเศษ
งานกายอุปกรณ์เป็นศาสตร์และศิลป์ที่เกิดจากการประยุกต์ความรู้พื้นฐานทางการแพทย์, ความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรม, ชีวกลศาสตร์และศิลปะเข้าด้วยกัน
คำถามที่ ๗ เรียนที่ไหน
๑) วิทยาเขตศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดล
๒) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
๓) โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร
คำถามที่ ๘ นักกายอุปกรณ์เหมือนกับแพทย์หรือไม่ อย่างไร
ไม่เหมือน นักกายอุปกรณ์ คือ ผู้ที่ทำงานร่วมกับแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ซึ่งมีหน้าที่ในการออกแบบกายอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับโรคที่แพทย์วินิจฉัย
คำถามที่ ๙ มีฝึกงานที่ต่างประเทศไหม
ในชั้นปีที่ ๓ และ ๔ มีรายวิชาประสบการณ์คลินิก ซึ่งนักศึกษาสามารถเลือกโรงพยาบาลที่จะฝึกประสบการณ์ได้ทั้งในและต่างประเทศ
คำถามที่ ๑๐ จบมาทำงานอะไรได้บ้าง (ที่ไหน)
๑) สามารถทำงานในองค์กร / หน่วยงาน / มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ
๒) ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
ติดต่อสอบถาม
โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ ๑๔ ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ๑๐๗๐๐
โทร. ๐๒-๔๑๙-๓๔๓๑-๓๕ โทรสาร. ๐๒-๔๓๓-๒๑๒๙
www.facebook.com/sspothailand